วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เชียงรายกับล้านนา


สวัสดีครับผู้ติดตามทุกท่าน และครั้งนี้ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ไปพูดคุยกับ กลุ่มผู้นำในการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา ในจังหวัดเชียงราย ท่านนี้ไม่ใช่ใครอื่นใกลคือ คุณ รัตนะ ตาแปง เป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งหลังจากได้คุยกับท่านแล้ว ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนามากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในเรื่องศิลปการแสดงของเชียงราย

ความสงสัยของข้าพเจ้าเกิดขึ้นในใจ จึงถามท่านไปว่า "การแสดงอะไรที่เด่นที่สุดของเชียงราย ครับ" ท่านตอบอย่างภาคภูมิใจ" ก็ฟ้อนสาวใหมต้นแบบ ของ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์" ซึ่งการฟ้อนสาวใหมต้นแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะ เผยแพร่ไปยังเชียงใหม่ และหลังจากนั้นก็ได้เข้าสู่กรมศิลปากร และที่เด่นไม่แพ้กันก็คือวงปี่พาทย์ล้านนา หรือโดยสากลเรียกว่าวงป้าดก้องซึ่งใช้ประกอบการฟ้อนรำของทางเหนือ ถ้าพูดถึงการแสดงที่นิยมตอนนี้แล้วหลายคนอาจสงสัยครับว่าคือประเภทใหน จากคำยื่นยันของคุณรัตนะ กล่าวว่า การแสดในปัจจุบันของเชียงรายคือ การแสดงชนเผ่า ซึ่งมีด้วยกัน 30 ชนเผ่า ที่เป็นที่น่าสนใจมากมาย ตามความเข้าใจของผมแล้วคือ คงเป็นการร่ายรำของชนเผ่าที่แตกต่างกันไป

พูดถึงการก่อตั้งชมรมที่เกิดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คุณรัตนะ ได้กล่าวไว้ว่าเกิดจากรุนพี่ของมหาวิทยาลัยรุ่น1 ในปี พ.ศ.2541 ได้จัดตั่งชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมขึ้น โดยใ้ช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย" ซึ่งประกอบไปด้วยการฟ้อนล้านนา ดนตรีไทยเครื่องสาย การละเล่น(กลองสะบัดชัย ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ) จนถึงในปี พ.ศ. 2547 ชมรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แบ่งออกเป็นสองชมรมคือ ชมรมดนตรีพื้นเมืองและ ชมรมนาฏศิลป์ โดยทั้งสองกลุ่มนั้นต่างมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ และเผยแพร่ วัฒนธรรมที่อยู่คู่บ้านเกิดมานาน วัฒนธรรมของไทย ที่รู้จักกันในนาม วัฒนธรรมล้านา



และก็เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่ทาง pakkagroup ได้มีโอกาสไปติดตามชมและเก็บภาพการแสดงของ กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มาฝากผู้ติดตามทุกท่านครับ


นอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้วการรวมกลุ่มกันของกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ยังมีการสนับสนุนจากชาวบ้านผู้สนใจและสืบสานวัฒนธรรม รวมถึงบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือในการสืบสานวัฒนธรรม จากท้องถิ่น เช่น แม่ครู่บัวเรียว ที่ช่วยสืบทอดการฟ้อนรำของล้านนา
ครูพรหมเมศวร์ พรรศรี ครูธงชัย บุญเจริญ สอนเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน บุคคลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้ว ยังมีกลุ่มของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมของกลุ่มให้คงอยู่คู่บ้านคู่เมืองต่อไป


คุณรัตนะ ตาแปง "พี่นะ"


และที่กล่าวมาก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆมุมหนึ่งของการอนุรักษ์วัฒนธรรม และถ้าหันมามองตัวเรากับความเป็นไทยละ กับวัฒนธรรมไทย สิ่งที่ทำได้ง่ายๆกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ซึ่งที่หลายคนบอกว่ามันคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย
คุณคิดกับสิ่งนั้นอย่างไร?
หรือต้องรอให้มันหายไป?


10 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใช่แล้ว

เราควรอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราไว้

ถ้าไม่ได้มีส่วนก็ไม่ควรบ่อนทำลาย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าชื่นชมนะครับสำหรับบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น

ถือเป็นการอนุรักษ์ศิลปะ และวัฒนธรรมที่ดีมาก

เพราะศิลปะแขนงนี้ นับวันยิ่งหาผู้สืบทอดยาก

ผมชื่นชมคับ. . .

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

It good for knowledge . I think that it ok .

Master กล่าวว่า...

เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทั้งน่าติดตาม น่าสืบสาน และน่าอนุรักษ์ไว้มากครับ

เป็นเรื่องใกล้ๆที่น้อยคนนักจะรู้เรื่องดี

และแหล่งข้อมูลก็มาจากบุคลากรของเราเอง

เป็นการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี

ปล.โปรโมทบล๊อกนี้ไว้ที่หน้าบล๊อกกลุ่มเราแล้วยังไงฝากด้วยนะครับ(เห็นที่หน้าบล๊อกอาจารย์รึยัง)

Master กล่าวว่า...

แวะมาเยี่ยมอีกแล้วนะคะสำหรับเพื่อนบ้านกิตติมศักดิ์
ขอบคุณมากนะคะที่ช่วยให้ความร่วมมือทุกอย่างเลย
เพนาะน้ำใจก็เป็นลักษณะนิสัยเฉพาะของคนไทยที่กำลังจะหายไปเช่นเดียวกันค่ะ

Master กล่าวว่า...

อากาศเริ่มเย็นแล้ว

อยากเตือนเพื่อนๆรักษาสุขภาพด้วยนะครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อืม ถูกต้องเลยล่ะ
เราต้องช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของเราเอาไว้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พี่นะๆๆ

ปุ๋ยอยู่นี่

ฮ่าๆๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใช่แล้วคร๊า

^^

เป็นหัวข้อที่ดีมาก

พวกเราควรช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของพวกเราไว้น๊าคร๊า

ยิ่งในปัจจุบัน ไม่มีผู้สนใจสักเท่าไหร่

ชอบค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าชื่นชมจริงๆๆ