วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ต้นตอความเป็นจีนบนดอยแม่สลอง

จีนในเชียงราย




วันหนึ่งทางกลุ่มปากกาของเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม และพูดคุยกับผู้คนบนดอยแม่สลอง จึงได้ทราบถึงความเป็นมามากมายของความเป็นจีน ที่สามารถอยู่ได้บนพื้นฐานของความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนและนี้ก็คือ เรื่องย่อๆ ว่าด้วยต้นตอความเป็นจีนในแม่สลอง

จากการสำรวจพื้นที่ในแม่สลอง ได้พบเห็นวัฒนธรรมและการต่อสู้ของชนกลุ่มนี้ ซึ่งน่าสนใจทีเดียวไปดูกัน.....




จาก.... คำจากรึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือของประเทศไทย เก้า ธันวาคม สองสี่เก้าสอง เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่มนฑลยูนนาน จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนการปกครอง ชาวจีนบางส่วนที่ไม่ยินยอมในระบบคอมมิวนิสต์ อพยพมาแนวชายแดนยูนนาน พม่า ใช้ชีวิตยากลำบากมากว่าสิบปีเพื่ออุดมการณ์ ในปีสองสี่เก้าห้า และสองห้าศูนย์สี่ ถูกกดดันจากสากลประเทศให้อพยพไปไต้หวัน ซึ่งบางส่วนก็ไม่ได้อพยพไปไหน ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงของปวงชนชาวไทย และวิสัยทัศน์ของผู้นำรัฐบาลในยุคนั้นจึงหารือกับทางไต้หวัน และบรรลุข้อตกลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน สองห้าหนึ่งสอง ให้รัฐบาล ดูแลผู้อพยพอย่างเหมาะสมเช่น อาสาป้องกันการโอนสัญชาติ ฝึกอบรมอาชีพ

ชาวจีนอพยพ ได้มีอิสระ เป็นสุขมากว่าสี่สิบปี วันนี้แม้สถานการณ์โลกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง และแผ่นดินยังคงมีเสมอมา จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ เพื่อรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจความเป็นจริง รักแผ่นดิน สำนึกในบุญคุณและพัฒนาชุมชนสืบไป

รับฟังประวัติเต็มของอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือของประเทศไทย

หลักฐานการช่วยเหลือและพัฒนาดอยแม่สลองจากภาครัฐและเอกชน

สส. แจกผ้าห่มช่วยคนจน


สส.ไต้หวันเยี่ยมชมโครงการสร้างบ้านเปลี่ยนหลังคา


บ้านหนึ่งครอบครัวแปดชีวิตก่อนได้รับความช่วยเหลือ



วางศิลาฤกษ์ร่วมกันในการสร้างบ้่านใหม่


บริจาคเครื่องสีข้าวแก่ชาวบ้าน


และทั้งหมดก็เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของดอยแม่สลอง พูดถึงปัจจุบันดอยแม่สลอง ได้มีความพัฒนาขึ้นมากทั้งด้านความเป็นอยู่ และการศึกษาทางภาครัฐได้จัดให้มีโรงเรียนขึ้นบนดอยแม่สลอง คือโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม นอกจากการศึกษาพื้นฐานแล้วเนื่องด้วยที่ดอยแม่สลองเป็นชาวจีน ประมาณ70% จึงมีหลักสูตรในการส่งเสริมภาษาจีนเข้าอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้วย

รูปโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม


วัฒนธรรมการดื่มชา ของชาวจีนบนดอยแม่สลอง





เรื่องของวัฒนธรรม ดร.อนัน กาญจนพันธุ์ ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของกลุ่มปากกาว่า วัฒนธรรมไม่ใช่เป็นสินค้าหรือเพื่อดึงดูด วัฒนธรรมคือความรูและภูมิปัญญาที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ การอนุรักษ์วัฒนธรรมต้องให้คนซึ่งเป็นตัววัฒนธรรมนั้นๆเป็นผู้อนุรักษ์ ไม่ใช่ต้องรอให้หน่วยงานหรือถาครัฐเข้าไปจัดการดูแล ...

การดื่มชาของชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีการสืบทอดวิธีในการดื่มมานานหลายยุดหลายสมัย ซึ่งมีวิธีการที่น่าสนใจมากครับ ครั้งนี้ทางกลุ่มได้มีโอกาสเรียนรู้จากกลุ่มแม่ค้า ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายชาบนดอยแม่สลอง มีวิธีการดังนี้ครับ

1 ชงชาประมาณ1 นาทีด้วยน้ำร้อน

2 ใช้มือปั่นถ้วยใส่ชาเพื่อให้ความร้อนของฝ่ามือได้ถ่ายเทผ่านถ้วยใส่ชงชา(ถ้วยใส่ชาในที่นี้จะมีสองส่วนดังรูป 1)

3 ดมเพื่อรับรู้ถึงกลิ่นชาก่อนดื่ม

4 ไอความร้อนของชาช่วยทำให้ตาสดใส

5 ดืมชาด้วยความอร่อย

และนี่ก็คือวิถีชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันของชาวจีนแม่สลอง

วัฒนธรรมของชาวจีนบนดอยแม่สลอง นอกจากการช่วยเหลือของภาครัฐบางส่วนแล้ว สิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เกิดจากการกระทำซึ่งทำกันอยู่ทุกวันของชาวดอยแม่สลอง เช่นวัฒนธรรมการพูดภาษาจีน ผู้คนบนดอยแม่สลอง เมื่อตื่นเช้ามาพบหน้ากันก็จะทักทายพูดคุยกันเป็นภาษาจีน ซึ่งเป็นการนำเสนอที่ไม่ต้องมีคำบรรยายใดเลยว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นคนเชื้อสายจีน

我们是 pakkagroup 和 朋友

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วัฒนธรรมสองภาค






วัฒนธรรมสองภาค หลายหลากผ้าไหม บั้งไฟประเพณี เขียวขจีพืชเกษตร ป่านิเวศน์ดอยหมี ทัศนีย์งามลำน้ำกก

คำขวัญประจำตำบล ดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง


ตำบล ดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมค่ะ ซึ่งตำบลนี้มีวัฒนธรรมสองภาคอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว ขึ้นชื่อว่าจังหวัดเชียงราย แน่นอนค่ะว่าต้องมีวัฒนธรรมของคนเมือง แต่ที่น่าสนใจก็คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมที่โดดเด่นของตำบลคงมหาวัน คือวัฒนธรรมอีสาน


คุณภัทรภณ อุดใจ
นักวิชาการศึกษา อบต. ดงมหาวัน

จากการสอบถามข้อมูลจาก คุณภัทรภณ อุดใจ นักวิชาการศึกษา อบต.ดงมหาวัน ได้ความว่า ตำบลดงมหาวันแห่งนี้มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน โดย 80% ของประชากรทั้งหมดมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนี่เอง และ 20% เป็นประชากรในท้องถิ่นโดยประชากรจากภาคอีสานนั้น ได้อพยพมาที่นี่ตั้งแต่ปี 2500 โดยประมาณ

รูปแบบของการรวมกลุ่มกันในชุมชนเป็นรูปแบบ สภาวัฒนธรรมตำบล ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์



จุดเด่นของตำบลนี้คือ ป่าชุมชน งานหัตถกรรม ประเพณีทางล้านนาเช่นตานก๋วยสลาก ประเพณีของภาคอีสาน เช่น เซิ้ง ทอดเทียน และประเพณีบุญบั้งไฟซึ่งจัดขี้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาคภาครัฐในการจัดงานในแต่ละครั้ง



ตัวอย่างโครงการ
ซึ่งเกิดขึ้นจากคนในชุมชนรวมตัวกันจนเกิดเป็นประเพณี



ประเพณีบุญบั้งไฟ ตำบลดงมหาวัน





และนี่ก็คือวัฒนธรรมอีสาน ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมล้านนาได้อย่าลงตัวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเกิดจากชาวอีสานเอง รักษาความเป็นอีสานไว้โดยการทำกิจกรรมต่างๆแบบอีสาน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ที่ตำบลดงมหาวัน จนทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นความสำคัญ จึงเกิดเป็นโครงการต่างๆขึ้นมากมาย และสิ่งเหล่านี้เอง ที่ชาวอีสานในตำบลดงมหาวันได้รับการตอบรับจากหน่วยงานของรัฐ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน นั่นเอง