การต่อสู้เพื่อความคงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมล้านนา
จากกลุ่มน้อยกลายเป็นกลุ่มใหญ่ เป็น การรวมตัวกันของกลุ่มคนในชุมชน ร่วมมือกับเทศบาลนครเชียงราย จึงก่อให้เกิดศุนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพขึ้น โดยโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม เกิดขึ้นจากโครงการและนโยบายของเทศบาลนครเชียงราย โดยมีนาย วันชัย จงสุทธนามณี ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครเชียงรายในสมัยนั้น เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สร้างงานศิลปะ และจรรโลงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน และนำวิถีชาวบ้านพัฒนาสู่งานอาชีพ และเพื่อสร้างโอกาสให้กับคนในชุมชน
ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายแห่งนี้ ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2548 โดย จุดเริ่มต้นของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม ก่อนหน้านี้ก่อตั้งเป็นเป็นกรมอุตสาหกรรม หลังจากนั้นเริ่มมีการนำสิ่งที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เข้ามาให้บริการในศูนย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาท่านนายกรัตนาได้โอนย้ายมาจากอุตสาหกรรมจังหวัด จึงได้มอบหมายให้เทศบาลของนาย วันชัย จงสุทธนามณี พัฒนาศูนย์ให้กลับมามีสีสันอีกครั้งเหมือนในปัจจุบัน
แนวคิดการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม เริ่ม จาก ท่านสมบูรณ์ อธิยา เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด และต่อมาได้มอบหมายให้ ดร. สมบูรณ์ เป็นผู้เขียนโครงการเพื่อเสนอต่อจังหวัด ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2548
กิจกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม
กิจกรรม ในศูนย์ฯ แห่งนี้ดำเนินการโดยอาศัยฐานทางวัฒนธรรม มีการริเริ่มการจัดหลักสูตรต่างๆที่หลากหลายเพื่อบริการการศึกษาแก่ประชาชน โดยหลักสูตรต่างๆจัดขึ้นโดยมีพ่อครู แม่ครูหรือ พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ในชุมชนเป็นผู้สอนหลักสูตรต่างๆ โดยผู้ที่ร่วมเข้าอบรมณ์ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน เพราะทุกโครงการ ที่ศูนย์ฯจัดขึ้นจะได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครเชียงราย โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรักษา สืบสาน วัฒนธรรมเพื่อให้คงอยู่อย่างมีคุณค่า ไม่ใช่เพียงความสวยงามเพียงอย่างเดียว
หลักสูตรที่เปิดบริการแก่ประชาชน
ศิลปะการฟ้อนสาวใหม
ศิลปะการฟ้อนเล็บ
ศิลปการตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ
ศิลปะการตีกลองสบัดชัย
ศิลปะการเล่นดนตรีพื้นเมือง
ศิลปะการวาดภาพเหมือน
การประดิษฐ์โคม
การประดิษฐ์ตุง
การนวดแผนไทย
การประดิษฐ์ผ้าฝีมือจากใบตอง
ฯลฯ
นอกจากนี้แล้วยังมีหลักสูตรอีกมากมาย โดยเงื่อนไขการขอรับการอบรมคือ ต้องมีผู้เข้าอบรมอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป แล้วทางศูนย์ฯ จะเปิดหลักสูตรที่ต้องการให้ฟรี แต่ถ้าเป็นการฟ้อนรำจะต้องมีการบูชาครูตามประเพณี
เครือข่ายกลุ่มผู้สนับสนุนในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ
มูลนิธิปัญญาพัฒนาท้องถิ่น
สหกรณ์เครือข่ายกลุ่มอาชีพ อบจ. เชียงราย จำกัด
กลุ่มเครือข่ายผ้าไทยลื้อเทศบาลนครเชียงราย
เครือขายกองทุนชุมชนเทศบาลนครเชียงราย
เครือข่ายออมทรัพย์นครเชียงราย
เครือข่ายฮักชุมชนเทศบาลนครเชียงราย
กลุ่มนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพนครเชียงราย
สหกรณ์ออมทรัพย์นครเชียงราย
กลุ่มเครือข่ายสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าเทศบาลนครเชียงราย
กลุ่มเครือข่าย OTOP เทศบาลนครเชียงราย
ชมรมพันธมิตรธุรกิจเชียงราย
โครงการตัวอย่างที่น่าสนใจ
โครงการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ http://www.sumc.in.th/modules/project/index.php?mode=detail1&id=542
การทำโคม เพื่อเป็นของที่ระลึกและของขวัญ เป็นการประยุกต์ร่วมสมัยของกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ
นางสาววชิโรทัย ตุงคบุรี
เลขานุการศูนย์ฯ