วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ต้นตอความเป็นจีนบนดอยแม่สลอง

จีนในเชียงราย




วันหนึ่งทางกลุ่มปากกาของเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชม และพูดคุยกับผู้คนบนดอยแม่สลอง จึงได้ทราบถึงความเป็นมามากมายของความเป็นจีน ที่สามารถอยู่ได้บนพื้นฐานของความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนและนี้ก็คือ เรื่องย่อๆ ว่าด้วยต้นตอความเป็นจีนในแม่สลอง

จากการสำรวจพื้นที่ในแม่สลอง ได้พบเห็นวัฒนธรรมและการต่อสู้ของชนกลุ่มนี้ ซึ่งน่าสนใจทีเดียวไปดูกัน.....




จาก.... คำจากรึกการก่อสร้างอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือของประเทศไทย เก้า ธันวาคม สองสี่เก้าสอง เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่มนฑลยูนนาน จีนแผ่นดินใหญ่เปลี่ยนการปกครอง ชาวจีนบางส่วนที่ไม่ยินยอมในระบบคอมมิวนิสต์ อพยพมาแนวชายแดนยูนนาน พม่า ใช้ชีวิตยากลำบากมากว่าสิบปีเพื่ออุดมการณ์ ในปีสองสี่เก้าห้า และสองห้าศูนย์สี่ ถูกกดดันจากสากลประเทศให้อพยพไปไต้หวัน ซึ่งบางส่วนก็ไม่ได้อพยพไปไหน ต่อมาด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงของปวงชนชาวไทย และวิสัยทัศน์ของผู้นำรัฐบาลในยุคนั้นจึงหารือกับทางไต้หวัน และบรรลุข้อตกลงเมื่อเดือน พฤศจิกายน สองห้าหนึ่งสอง ให้รัฐบาล ดูแลผู้อพยพอย่างเหมาะสมเช่น อาสาป้องกันการโอนสัญชาติ ฝึกอบรมอาชีพ

ชาวจีนอพยพ ได้มีอิสระ เป็นสุขมากว่าสี่สิบปี วันนี้แม้สถานการณ์โลกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง และแผ่นดินยังคงมีเสมอมา จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานแห่งนี้ เพื่อรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เข้าใจความเป็นจริง รักแผ่นดิน สำนึกในบุญคุณและพัฒนาชุมชนสืบไป

รับฟังประวัติเต็มของอนุสรณ์สถานชาวจีนอพยพภาคเหนือของประเทศไทย

หลักฐานการช่วยเหลือและพัฒนาดอยแม่สลองจากภาครัฐและเอกชน

สส. แจกผ้าห่มช่วยคนจน


สส.ไต้หวันเยี่ยมชมโครงการสร้างบ้านเปลี่ยนหลังคา


บ้านหนึ่งครอบครัวแปดชีวิตก่อนได้รับความช่วยเหลือ



วางศิลาฤกษ์ร่วมกันในการสร้างบ้่านใหม่


บริจาคเครื่องสีข้าวแก่ชาวบ้าน


และทั้งหมดก็เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของดอยแม่สลอง พูดถึงปัจจุบันดอยแม่สลอง ได้มีความพัฒนาขึ้นมากทั้งด้านความเป็นอยู่ และการศึกษาทางภาครัฐได้จัดให้มีโรงเรียนขึ้นบนดอยแม่สลอง คือโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม นอกจากการศึกษาพื้นฐานแล้วเนื่องด้วยที่ดอยแม่สลองเป็นชาวจีน ประมาณ70% จึงมีหลักสูตรในการส่งเสริมภาษาจีนเข้าอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้วย

รูปโรงเรียนสันติคีรีวิทยาคม


วัฒนธรรมการดื่มชา ของชาวจีนบนดอยแม่สลอง





เรื่องของวัฒนธรรม ดร.อนัน กาญจนพันธุ์ ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ของกลุ่มปากกาว่า วัฒนธรรมไม่ใช่เป็นสินค้าหรือเพื่อดึงดูด วัฒนธรรมคือความรูและภูมิปัญญาที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ การอนุรักษ์วัฒนธรรมต้องให้คนซึ่งเป็นตัววัฒนธรรมนั้นๆเป็นผู้อนุรักษ์ ไม่ใช่ต้องรอให้หน่วยงานหรือถาครัฐเข้าไปจัดการดูแล ...

การดื่มชาของชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีการสืบทอดวิธีในการดื่มมานานหลายยุดหลายสมัย ซึ่งมีวิธีการที่น่าสนใจมากครับ ครั้งนี้ทางกลุ่มได้มีโอกาสเรียนรู้จากกลุ่มแม่ค้า ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายชาบนดอยแม่สลอง มีวิธีการดังนี้ครับ

1 ชงชาประมาณ1 นาทีด้วยน้ำร้อน

2 ใช้มือปั่นถ้วยใส่ชาเพื่อให้ความร้อนของฝ่ามือได้ถ่ายเทผ่านถ้วยใส่ชงชา(ถ้วยใส่ชาในที่นี้จะมีสองส่วนดังรูป 1)

3 ดมเพื่อรับรู้ถึงกลิ่นชาก่อนดื่ม

4 ไอความร้อนของชาช่วยทำให้ตาสดใส

5 ดืมชาด้วยความอร่อย

และนี่ก็คือวิถีชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันของชาวจีนแม่สลอง

วัฒนธรรมของชาวจีนบนดอยแม่สลอง นอกจากการช่วยเหลือของภาครัฐบางส่วนแล้ว สิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ เกิดจากการกระทำซึ่งทำกันอยู่ทุกวันของชาวดอยแม่สลอง เช่นวัฒนธรรมการพูดภาษาจีน ผู้คนบนดอยแม่สลอง เมื่อตื่นเช้ามาพบหน้ากันก็จะทักทายพูดคุยกันเป็นภาษาจีน ซึ่งเป็นการนำเสนอที่ไม่ต้องมีคำบรรยายใดเลยว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นคนเชื้อสายจีน

我们是 pakkagroup 和 朋友

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วัฒนธรรมสองภาค






วัฒนธรรมสองภาค หลายหลากผ้าไหม บั้งไฟประเพณี เขียวขจีพืชเกษตร ป่านิเวศน์ดอยหมี ทัศนีย์งามลำน้ำกก

คำขวัญประจำตำบล ดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง


ตำบล ดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมค่ะ ซึ่งตำบลนี้มีวัฒนธรรมสองภาคอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว ขึ้นชื่อว่าจังหวัดเชียงราย แน่นอนค่ะว่าต้องมีวัฒนธรรมของคนเมือง แต่ที่น่าสนใจก็คืออีกหนึ่งวัฒนธรรมที่โดดเด่นของตำบลคงมหาวัน คือวัฒนธรรมอีสาน


คุณภัทรภณ อุดใจ
นักวิชาการศึกษา อบต. ดงมหาวัน

จากการสอบถามข้อมูลจาก คุณภัทรภณ อุดใจ นักวิชาการศึกษา อบต.ดงมหาวัน ได้ความว่า ตำบลดงมหาวันแห่งนี้มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน โดย 80% ของประชากรทั้งหมดมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนี่เอง และ 20% เป็นประชากรในท้องถิ่นโดยประชากรจากภาคอีสานนั้น ได้อพยพมาที่นี่ตั้งแต่ปี 2500 โดยประมาณ

รูปแบบของการรวมกลุ่มกันในชุมชนเป็นรูปแบบ สภาวัฒนธรรมตำบล ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์



จุดเด่นของตำบลนี้คือ ป่าชุมชน งานหัตถกรรม ประเพณีทางล้านนาเช่นตานก๋วยสลาก ประเพณีของภาคอีสาน เช่น เซิ้ง ทอดเทียน และประเพณีบุญบั้งไฟซึ่งจัดขี้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาคภาครัฐในการจัดงานในแต่ละครั้ง



ตัวอย่างโครงการ
ซึ่งเกิดขึ้นจากคนในชุมชนรวมตัวกันจนเกิดเป็นประเพณี



ประเพณีบุญบั้งไฟ ตำบลดงมหาวัน





และนี่ก็คือวัฒนธรรมอีสาน ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมล้านนาได้อย่าลงตัวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเกิดจากชาวอีสานเอง รักษาความเป็นอีสานไว้โดยการทำกิจกรรมต่างๆแบบอีสาน เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ที่ตำบลดงมหาวัน จนทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นความสำคัญ จึงเกิดเป็นโครงการต่างๆขึ้นมากมาย และสิ่งเหล่านี้เอง ที่ชาวอีสานในตำบลดงมหาวันได้รับการตอบรับจากหน่วยงานของรัฐ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน นั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การต่อสู้เพื่อความคงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมล้านนา


การต่อสู้เพื่อความคงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมล้านนา



จากกลุ่มน้อยกลายเป็นกลุ่มใหญ่ เป็น การรวมตัวกันของกลุ่มคนในชุมชน ร่วมมือกับเทศบาลนครเชียงราย จึงก่อให้เกิดศุนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพขึ้น โดยโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม เกิดขึ้นจากโครงการและนโยบายของเทศบาลนครเชียงราย โดยมีนาย วันชัย จงสุทธนามณี ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครเชียงรายในสมัยนั้น เป็นผู้ดำเนินโครงการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สร้างงานศิลปะ และจรรโลงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน และนำวิถีชาวบ้านพัฒนาสู่งานอาชีพ และเพื่อสร้างโอกาสให้กับคนในชุมชน

ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายแห่งนี้ ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2548 โดย จุดเริ่มต้นของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม ก่อนหน้านี้ก่อตั้งเป็นเป็นกรมอุตสาหกรรม หลังจากนั้นเริ่มมีการนำสิ่งที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เข้ามาให้บริการในศูนย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาท่านนายกรัตนาได้โอนย้ายมาจากอุตสาหกรรมจังหวัด จึงได้มอบหมายให้เทศบาลของนาย วันชัย จงสุทธนามณี พัฒนาศูนย์ให้กลับมามีสีสันอีกครั้งเหมือนในปัจจุบัน
แนวคิดการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม เริ่ม จาก ท่านสมบูรณ์ อธิยา เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด และต่อมาได้มอบหมายให้ ดร. สมบูรณ์ เป็นผู้เขียนโครงการเพื่อเสนอต่อจังหวัด ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2548

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม
กิจกรรม ในศูนย์ฯ แห่งนี้ดำเนินการโดยอาศัยฐานทางวัฒนธรรม มีการริเริ่มการจัดหลักสูตรต่างๆที่หลากหลายเพื่อบริการการศึกษาแก่ประชาชน โดยหลักสูตรต่างๆจัดขึ้นโดยมีพ่อครู แม่ครูหรือ พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย ในชุมชนเป็นผู้สอนหลักสูตรต่างๆ โดยผู้ที่ร่วมเข้าอบรมณ์ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน เพราะทุกโครงการ ที่ศูนย์ฯจัดขึ้นจะได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครเชียงราย โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรักษา สืบสาน วัฒนธรรมเพื่อให้คงอยู่อย่างมีคุณค่า ไม่ใช่เพียงความสวยงามเพียงอย่างเดียว

หลักสูตรที่เปิดบริการแก่ประชาชน

ศิลปะการฟ้อนสาวใหม
ศิลปะการฟ้อนเล็บ
ศิลปการตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ
ศิลปะการตีกลองสบัดชัย
ศิลปะการเล่นดนตรีพื้นเมือง
ศิลปะการวาดภาพเหมือน
การประดิษฐ์โคม
การประดิษฐ์ตุง
การนวดแผนไทย
การประดิษฐ์ผ้าฝีมือจากใบตอง
ฯลฯ


นอกจากนี้แล้วยังมีหลักสูตรอีกมากมาย โดยเงื่อนไขการขอรับการอบรมคือ ต้องมีผู้เข้าอบรมอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป แล้วทางศูนย์ฯ จะเปิดหลักสูตรที่ต้องการให้ฟรี แต่ถ้าเป็นการฟ้อนรำจะต้องมีการบูชาครูตามประเพณี

เครือข่ายกลุ่มผู้สนับสนุนในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ


มูลนิธิปัญญาพัฒนาท้องถิ่น
สหกรณ์เครือข่ายกลุ่มอาชีพ อบจ. เชียงราย จำกัด
กลุ่มเครือข่ายผ้าไทยลื้อเทศบาลนครเชียงราย
เครือขายกองทุนชุมชนเทศบาลนครเชียงราย
เครือข่ายออมทรัพย์นครเชียงราย
เครือข่ายฮักชุมชนเทศบาลนครเชียงราย
กลุ่มนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพนครเชียงราย
สหกรณ์ออมทรัพย์นครเชียงราย
กลุ่มเครือข่ายสตรีตัดเย็บเสื้อผ้าเทศบาลนครเชียงราย
กลุ่มเครือข่าย OTOP เทศบาลนครเชียงราย
ชมรมพันธมิตรธุรกิจเชียงราย



โครงการตัวอย่างที่น่าสนใจ


โครงการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ http://www.sumc.in.th/modules/project/index.php?mode=detail1&id=542



อีกหนึ่งการต่อสู้เพื่อความคงอยู่ ของโคมล้านนา

การทำโคม เพื่อเป็นของที่ระลึกและของขวัญ เป็นการประยุกต์ร่วมสมัยของกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ในศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมสู่งานอาชีพ







ขอขอบคุณ
นางสาววชิโรทัย ตุงคบุรี
เลขานุการศูนย์ฯ



การสอบถามข้อมูลจากเรขานุการศูนย์ฯ


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เชียงรายกับล้านนา


สวัสดีครับผู้ติดตามทุกท่าน และครั้งนี้ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ไปพูดคุยกับ กลุ่มผู้นำในการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนา ในจังหวัดเชียงราย ท่านนี้ไม่ใช่ใครอื่นใกลคือ คุณ รัตนะ ตาแปง เป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งหลังจากได้คุยกับท่านแล้ว ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนามากมาย โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในเรื่องศิลปการแสดงของเชียงราย

ความสงสัยของข้าพเจ้าเกิดขึ้นในใจ จึงถามท่านไปว่า "การแสดงอะไรที่เด่นที่สุดของเชียงราย ครับ" ท่านตอบอย่างภาคภูมิใจ" ก็ฟ้อนสาวใหมต้นแบบ ของ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์" ซึ่งการฟ้อนสาวใหมต้นแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะ เผยแพร่ไปยังเชียงใหม่ และหลังจากนั้นก็ได้เข้าสู่กรมศิลปากร และที่เด่นไม่แพ้กันก็คือวงปี่พาทย์ล้านนา หรือโดยสากลเรียกว่าวงป้าดก้องซึ่งใช้ประกอบการฟ้อนรำของทางเหนือ ถ้าพูดถึงการแสดงที่นิยมตอนนี้แล้วหลายคนอาจสงสัยครับว่าคือประเภทใหน จากคำยื่นยันของคุณรัตนะ กล่าวว่า การแสดในปัจจุบันของเชียงรายคือ การแสดงชนเผ่า ซึ่งมีด้วยกัน 30 ชนเผ่า ที่เป็นที่น่าสนใจมากมาย ตามความเข้าใจของผมแล้วคือ คงเป็นการร่ายรำของชนเผ่าที่แตกต่างกันไป

พูดถึงการก่อตั้งชมรมที่เกิดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คุณรัตนะ ได้กล่าวไว้ว่าเกิดจากรุนพี่ของมหาวิทยาลัยรุ่น1 ในปี พ.ศ.2541 ได้จัดตั่งชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมขึ้น โดยใ้ช้ชื่อชมรมว่า "ชมรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย" ซึ่งประกอบไปด้วยการฟ้อนล้านนา ดนตรีไทยเครื่องสาย การละเล่น(กลองสะบัดชัย ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ) จนถึงในปี พ.ศ. 2547 ชมรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แบ่งออกเป็นสองชมรมคือ ชมรมดนตรีพื้นเมืองและ ชมรมนาฏศิลป์ โดยทั้งสองกลุ่มนั้นต่างมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ และเผยแพร่ วัฒนธรรมที่อยู่คู่บ้านเกิดมานาน วัฒนธรรมของไทย ที่รู้จักกันในนาม วัฒนธรรมล้านา



และก็เป็นโอกาสดีอีกครั้งที่ทาง pakkagroup ได้มีโอกาสไปติดตามชมและเก็บภาพการแสดงของ กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มาฝากผู้ติดตามทุกท่านครับ


นอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้วการรวมกลุ่มกันของกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ยังมีการสนับสนุนจากชาวบ้านผู้สนใจและสืบสานวัฒนธรรม รวมถึงบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือในการสืบสานวัฒนธรรม จากท้องถิ่น เช่น แม่ครู่บัวเรียว ที่ช่วยสืบทอดการฟ้อนรำของล้านนา
ครูพรหมเมศวร์ พรรศรี ครูธงชัย บุญเจริญ สอนเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน บุคคลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้ว ยังมีกลุ่มของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรม รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมของกลุ่มให้คงอยู่คู่บ้านคู่เมืองต่อไป


คุณรัตนะ ตาแปง "พี่นะ"


และที่กล่าวมาก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆมุมหนึ่งของการอนุรักษ์วัฒนธรรม และถ้าหันมามองตัวเรากับความเป็นไทยละ กับวัฒนธรรมไทย สิ่งที่ทำได้ง่ายๆกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ซึ่งที่หลายคนบอกว่ามันคือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย
คุณคิดกับสิ่งนั้นอย่างไร?
หรือต้องรอให้มันหายไป?


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ระวัง! มันกำลังจะหายไป


ผลจากกระแสวัฒนธรรมต่างแดนซึ่งถาโถมเข้ามา ยังส่งผลให้คนไทยโดยเฉพาะวัยรุ่นเริ่มห่างหายไปจากความเป็นไทย เกิดเป็นช่องว่างระหว่างความเป็นไทย และวัฒนธรรมจากต่างประเทศ
ในปัจจุบันประเทศไทยนับวันจะรับเอาวัฒนธรรมทางแถบตะวันตก หรือไม่ก็เกาหลี หรือญี่ปุ่นจ๋ากันมาก ความเป็นไทยเริ่มจางหายไปมาก
โลกที่มีความเปลี่ยนแปลงมาก จึงส่งผลให้ความเป็นไทยหลายๆด้านถูกเปลี่ยนแปลง และนี่คือภัยเงียบที่มาโดยเราอาจจะยังไม่ไม่ทันตั้งตัว

ปัจจุบัน เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ชีวิตที่ผ่านไปในแต่ละวันของเรานั้นเราไม่ได้อยู่กับวัฒนธรรมไทยเพียงอย่างเดียว
โลกที่เปลี่ยนไป เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเรา ยอมเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆมากขึ้น แต่ถ้าวันหนึ่งที่เรารับวัฒนธรรมของต่างชาติมามากเกินไป จนลืมไปว่า เราคือคนไทย เรามีวัฒนธรรมไทยที่สวยสดงดงามเป็นของเราเอง วัฒนธรรมที่แม้แต่ชาติอื่นก็ยังชื่นชม
แต่มันกำลังจะหายไป...ทีละน้อย...
ทีละน้อย...โดยที่เราไม่รู้ตัว..จะรู้ตัวอีกที เราก็เกือบจะกลายเป็นทาสวัฒนธรรมของชาติอื่นไปเสียแล้ว คำถามจึงเกิดขึ้นในใจของพวกเราว่า "แล้วจะมีใครซักคนไหม...ที่คิดว่า...เรา...ควรจะอนุรักษ์วัฒนธรรมของเรา ให้คงอยู่และสืบทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ชื่นชมกันต่อไป อีกนานเท่านาน"

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

plofile



นาสาวเจนจิรา ญาณะชื่น
ID:513100701

ชื่อเล่น ปุ๋ย

สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


นางสาวช่อแก้ว ทับทิมแดง
ID:5131007017

ชื่อเล่น ส้ม

สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง



นายณนทกร ยิ้มทิม
ID:5131007023

ชื่อเล่น อู๋

สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


นายกิรวัฒน์ เรืองศรี
ID:5131007036

ชื่อเล่น ไปป์

สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


นางสาวสุวลักษณ์ ก้องสมุทร
ID:5131007104

ชื่อเล่น แพร

สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
สำนักวิชาศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


นายหิรัณย์ อิทธิสุขนันท์
ID:5100000512

ชื่อเล่น ฮัท